วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT

วิเคราะห์ SWOT
การส่งออกผลไม้ไทยไปจีน


  
S(Strengths) จุดเด่นหรือจุดแข็ง

    - สภาพพื้นที่เหมาะสมและภูมิอากาศเหมาะสมต่อการปลูกผลไม้เมืองร้อน

    - มีพันธุ์ผลไม้เมืองร้อนหลากหลายชนิดซึ่งสามารถปลูกและให้ผลได้ตลอดปีในขณะที่จีนมีสภาวะอากาศหนาวทางตอนเหนือและบางส่วนของภาคใต้ทำให้การเพาะปลูกทำได้บางฤดู
          - มีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกผลไม้เมืองร้อนมากขึ้น 

    - มีระบบชลประทานทีสนับสนุนการปลูกผลไม้เมืองร้อน
    
    - มีการพัฒนาผลไม้ให้ได้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้น
    
    - มีนโยบายสนับสนุนของภาครัฐทั้งการผลิตและการส่งออก

    - มีการกระจายการปลูกผลไม้ เช่น ทุเรียนในหลายภาคของไทยทำให้มีผลผลิตตลอดปี
    - มีการขนส่งไปจีนได้หลากหลายเส้นทางผ่านจุดผ่านแดนได้หลายเมือง  

W (Weaknesses) จุดด้อยหรือจุดอ่อน

    - ต้องมีการควบคุมดูแลให้ความรู้แก่เกษตรกรบางส่วนที่ใช้สารเคมีในการเร่งการผลิต และใช้สารฆ่าแมลงอย่างไม่ถูกวิธี ทำให้เพิ่มต้นทุนการตรวจสอบดูแล

    - การขยายการผลิตในบางจังหวัดอาจจะมีภูมิอากาศไม่เหมาะสมต่อผลไม้บางชนิดทำให้ต้องมีการจัดพื้นที่ในภาพรวมที่ดี
 
    - กลุ่มเกษตรการที่ใช้การเกษตรกรรมดั้งเดิมมีผลการผลิตที่ต่ำ

    - ผลไม้บางประเภทเสียหายได้ในระหว่างการขนส่งจึงต้องพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดีขึ้น

    - ผลไม้เมืองร้อนส่วนใหญ่เข้าทางตลาดของฮ่องกงยังไม่มีการกระจายสินค้าไปตามหัวเมืองหลักใหญ่ ๆ เช่น ปักกิ่ง 

   
O (Opportunities) โอกาส

    - กระบวนการนำเข้าของจีนจะถูกปรับให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นไทยจึงไม่จำเป็นต้องส่งผลไม้ผ่านไปทางฮ่องกงอีกจึงเป็นการลดต้นทุนการขนส่งไปได้

    - การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกของ WTO จะทำให้ชาวจีนมีรายได้สูงขึ้นซึ่งจะทำให้การค้าผลไม้ขยายตัวเพราะผลไม้เป็นสินค้าจำเป็นและชาวจีนก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากด้วย

    - เนื่องจากผลไม้เมืองร้อน เช่น ทุเรียน ลำไย เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพสูงอยู่แล้ว การลดภาษีของจีนจะทำให้ราคาผลไม้เหล่านี้ถูกลงการส่งออกของไทยก็จะขยายตัวมากขึ้น 

    - จีนนำเข้าผลไม้เมืองร้อนจากไทยเป็นอันดับหนึ่งมานานและยังไม่มีคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ ที่น่ากลัว

    - จีนเป็นคู่ค้ามากกว่าคู่แข่งสำหรับผลไม้เมืองร้อน 

 
T (Threats) อุปสรรค

    - จีนมีพันธุ์ลำใยที่ดีและถูกปากคนจีนมากกว่าพันธุ์ของไทยโดยมีการปลูกเป็นจำนวนมากที่มณฑลยูนนาน 
    
    - การคมนาคมที่ดีขึ้นทางเหนือของไทยและภาคใต้ของจีนอาจจะทำให้ผลไม้เมืองหนาวจากจีนเข้ามาตีตลาดไทยโดยเฉพาะแอปเปิ้ล แพร์ และพีช

    - ผลไม้เมืองร้อนสามารถปลูกได้ในเวียดนามและฟิลิปปินส์ซึ่งจะเป็นคู่แข่งของไทยโดยเฉพาะเวียดนามที่มีชายแดนติดกับจีนและสามารถได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าชายแดน
         
    - มีการเร่งปลูกลำใยในอีกหลายมณฑลในจีน

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

การส่งออกผลไม้ไทยไปจีน

        

        จีน เป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทยทั้งนี้หลังจากการเปิดเสรีการค้าผักและผล ไม้ตามพิกัดอัตราศุลกากรหมวดที่ 07-08 ระหว่างไทย-จีนในกรอบ FTA ASEAN จีนซึ่งเริ่มมีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2003 เป็นต้นมา ได้ ส่งผลไม้เพิ่มขึ้นด้วยจำนวนประชากรและเศรษฐกิจของประเทศจีนที่เติบโตอย่าง ต่อเนื่องประกอบกับการลดภาษีนำเข้าผลไม้ตามข้อตกลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ปี 2003 ทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างมากจากการส่งผลไม้เมืองร้อนมายังตลาดจีน

    จาก สถิติตัวเลขการนำเข้าผลไม้ไทยผ่านมณฑลกวางตุ้ง ในช่วงปี2007-2009 ปริมาณการนำเข้าและมูลค่าได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ คือ การนำเข้า ปี2007 คิดเป็น 227,632 ตัน มูลค่า 187.5 ล้านเหรียญสหรัฐ , ปี 2008 คิดเป็น 282,831 ตัน มูลค่า 239.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ปี2009 คิดเป็น 476,413 ตัน มูลค่า 405.96 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับโดยอัตราการ ขยายตัวในช่วงปี 2007 - 2009 ทางด้านปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น 16.5% , 24 % และ 68.4 % และมูลค่าได้เพิ่มขึ้น 38 % , 27.3 % และ 69.6 % ตามลำดับ ปัจจุบันรัฐบาลจีนอนุญาตให้ผลไม้ไทยนำเข้าได้จำนวน 23 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย กล้วยไข่ ลิ้นจี่ มะพร้าว มะละกอ มะเฟือง มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ เงาะ สับปะรด ละมุด เสาวรส น้อยหน่า มะขาม ขนุน สละ ลองกอง ส้มเขียวหวาน ส้ม ส้มโอ ตามลำดับ โดยผลไม้ที่ผู้บริโภคชาวจีนนิยมบริโภคมาก ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย กล้วยไข่ ชมพู่ทับทิมจันทร์ มะม่วงน้ำดอกไม้ เงาะโรงเรียน ส้มโอ มะขามหวาน เป็นต้น
.     
    นอกจากนี้ผลไม้แปรรูป เช่น ลำไยอบแห้ง ทุเรียนทอดกรอบ/อบกรอบ กล้วยอบกรอบ ขนุนอบกรอบ สับปะรดอบกรอบและมะขามหวานแกะเมล็ด เป็นต้น ก็ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเช่นกันสำหรับ ช่องทางการนำเข้าผลไม้ไทยสู่ตลาดจีนส่วนใหญ่จะนำเข้าผ่านทาง ฮ่องกง,เซินเจิ้น,กวางโจว เนื่องจากการดำเนินพิธีศุลกากรในช่องทางนี้มี ความสะดวก ความรวดเร็ว และ เสียค่าใช้จ่ายน้อยหลังจากนั้นผลไม้ไทยจะถูกนำมาที่ตลาดกลางผลไม้ เจียงหนาน แล้วจึงกระจายไปยังมณฑลและเมืองอื่นๆของจีนต่อไป ทั้งนี้รูปแบบการซื้อ-ขายผลไม้ไทยในตลาดกลาง ผลไม้เจียงหนานยังคงใช้ระบบการฝากขายConsignment) ซึ่งเป็นวิธีการค้าที่มีมาแต่ดั้งเดิมและต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจ ระหว่างผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าจีนโดยจะไม่มีการเปิด L/C จากนั้นผู้นำเข้าจะนำผลไม้ไปขายต่อให้กับพ่อค้าจีนตามเมืองต่างๆในลักษณะ เงินเชื่อ การค้ารูปแบบดังกล่าวมีข้อดีคือ ผลไม้ไทยได้อาศัยเครือข่ายหรืออิทธิพลของตัวกลางชาวจีนเหล่านี้ในการเข้าสู่ ตลาดจีนโดยไม่ต้องสร้างเครือข่ายเองแต่ก็มีข้อจำกัดคือ ผลไม้ไทยต้องตกอยู่ภายใต้กลไกที่ผู้ประกอบการจีนเป็นผู้กำหนดไม่ว่าจะเป็น ราคาซื้อ-ขายปริมาณและประเภทผลไม้นำเข้า
          
    อย่างไรก็ตามโอกาสของผลไม้ไทยในตลาดจีนยังมีโอกาสสูง เนื่องจากผลไม้ไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเพิ่มมากขึ้นหลายชนิดและ สามารถขยายตลาดไปตามเมืองต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้ผลไม้ไทยสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดเดิมสามารถขยายตลาดไปตาม เมืองต่างๆได้เพิ่มมากขึ้นและขยายโอกาสทางการค้าของผลไม้ไทยในตลาดจีนจึงควร มีการดำเนินการดังนี้
         
         1. ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการจำหน่ายผลไม้ไทยเพื่อให้ชาวจีนรู้จักและยอมรับใน คุณภาพของ ผลไม้ไทยอย่างกว้างขวาง เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศจีน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายร่วมกับห้างสรรพสินค้า (In-store Promotion) การจัดงานส่งเสริมสินค้าไทยและผลไม้ไทยในโอกาสพิเศษ เช่น การจัดงานแสดงสินค้าเนื่องในโอกาสครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-จีน เป็นต้น
.
         2. การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออกผลไม้ไทยเข้ามาค้าขายในประเทศ จีนอย่างเป็นระบบและเป็นมาตรฐานสากล คือ สามารถเป็นผู้นำเข้า ทำการตลาด และบริหารจัดการได้เองทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปทำการค้าร่วมกับผู้ประกอบการจีนใน ตลาดผลไม้ที่สำคัญตามเมืองและมณฑลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
.
         3. การให้ความรู้ในวิธีการบริโภคและสารอาหารที่มีคุณคุณประโยชน์แก่ผู้บริโภค ชาวจีนตลอดวิธีการถนอมคุณภาพของผลไม้ไทยแก่ผู้นำเข้าและผู้ประกอบการาชาวจีน เพื่อให้ผลไม้ไทยถึงมือผู้บริโภคในลักษณะยังคงคุณภาพดี เช่น การจัดทำแผ่นพับทบแจกในโอกาสต่างๆและการขอความร่วมมือผู้ส่งออกไทยในการแนบ คำธิบายหรือคำแนะนำไว้บนกล่องบรรจุผลไม้ที่ส่งออก
.
         4. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า โรงงานบรรจุหีบห่อผู้ส่งออกและหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำ เป็นที่จะต้องร่วมมือกันในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานมีความปลอดภัย ต่อผู้บริโภคเพื่อสร้างมั่นใจในคุณภาพให้แก่ผู้บริโภคชาวจีน
.
         5. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-จีน ทั้งระดับผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการทั้งไทยและจีน
.
         6. ผู้ส่งออกผลไม้ไทยจะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการนำเข้าของผู้ประกอบ การชาวจีนให้ถูกต้อง ชัดเจน และต้องหมั่นติดตามตรวจสอบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับของรัฐบาลจีนอย่างต่อเนื่องเพื่อจะได้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง เพราะหากเอกสารผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วนก็จะทำให้ผลไม้ไทยไม่สามารถเข้ามาใน ประเทศจีนได้และได้รับความเสียหาย


ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว
เวบไซต์ที่เกี่ยวข้อง : http://ethaitrade.com/2010/export-watch/

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่าง

ความแตกต่าง
การตลาดระหว่างประเทศ กับ การค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing
   ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความ
ดังต่อไปนี้
     สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association: AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
     ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ


การค้าระหว่างประเทศ (International trade)  
     การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกันประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
  • ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ของแต่ละประเทศจะถูกใช้ไปในทางการผลิตสินค้าที่ประเทศของตนได้เปรียบในการ ผลิต ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศไปในทางที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้

  • ประชากรของแต่ละประเทศ จะได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าที่ไม่มีการซื้อการซื้อขายแลกเปลี่ยน กับประเทศอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น

  • ถ้าการสั่งสินค้าออกของประเทศ สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากก็จะมีผลกระทบถึงรายได้ของประชากร ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น

  • สินค้าออกเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศ

  • สินค้าออกเป็นที่มาของรายได้และภาษีอาการของรัฐ

  • สินค้าเข้าที่เป็นประเภททุน จะขายเพิ่มในการผลิตและการพัฒนาประเทศ
  • เมื่อมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงก็จะเป็นผลกระทบในการเพิ่มอำนาจซื้อแก่ประเทศอื่น ๆ ให้สามารถซื้อสินค้าออกของเราได้


แหล่งข้อมูล
   http://learners.in.th/file/kulkanit/
   www1.webng.com/logisticseminar/.../International_Marketing.doc



    เยอรมัน

    เยอรมัน


    เมืองที่เป็นที่รู้จักของประเทศเยอรมัน




    กรุงเบอร์ลิน(Berlin 
      

         เมืองหลวงของประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 เป็นเมืองใหญ่สุด มีประชากร 3.5 ล้านคน เป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรม มีโรงละคร โรงแสดงคอนเสิร์ตวงดนตรีขนาดใหญ่ที่เรียกว่า วงออเคสตร้า พิพิธภัณฑ์ และเวทีแสดงศิลปะและดนตรีที่มีชื่อเสียง มีสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 11 แห่ง วิทยาลัยศิลปะและดนตรีอีก 6 แห่ง นับเป็นเมืองที่มีสถาบันอุดมศึกษามากที่สุดในเยอรมัน


     

    แหล่งข้อมูลที่นำมา

        - http://gotoknow.org/blog/rainalone/372381
        - http://th.wikipedia.org/
        - http://www.dhammathai.org/